กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสตรีพัฒนาบ้านโพธิ์เมืองเฮือนชูฮัก โฮมสตังค์ จัดพิธีบายศรีสู่ขวัญแทนคำขอบคุณแก่นักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต ที่ได้เข้ามาช่วยพัฒนา ยกระดับผ้าขาวม้าทอมือของชุมชนบ้านโพธิ์เมือง พร้อมส่งมอบผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายผ้าขาวม้าทอมือ เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์โมเดลต้นแบบให้ชุมชน ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้าขาวม้า มหาวิทยาลัยรังสิตนำโดย ดร.เริงศักดิ์ แก้วเพ็ชร
ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาสังคมศิลปวัฒนธรรมและสิทธิประโยชน์ พร้อมด้วยบุคลากร ตัวแทนนักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต และนักศึกษาทุนความสามารถพิเศษด้านศิลปวัฒนธรรม เข้าส่งมอบผลงานการออกแบบเครื่องแต่งกายจากผ้าขาวม้าทอมือของของชุมชนบ้านโพธิ์เมือง หลังจากที่ได้เข้าร่วมแสดงผลงานในโครงการ Creative Young Designers Season 3 โดย eisa บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และบริษัทประชารัฐรักสามัคคีวิสาหกิจเพื่อสังคม (ประเทศไทย) ในการจัดแสดงผลงานเดินแบบแฟชั่นโชว์โดยความร่วมมือจาก 18 มหาวิทยาลัย 20 ชุมชนจากเครือข่ายทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2566 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ที่ผ่านมา ซึ่งการออกแบบชุด เครื่องแต่งกาย ปรับลวดลายผ้าขาวม้าทอมือของชุมชนบ้านโพธิ์เมือง ตำบลนาแวง อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี
โดยนักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต ทั้งนี้กลุ่มชาวบ้านวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสตรีพัฒนาบ้านโพธิ์เมืองเฮือนชูฮัก โฮมสตังค์ จัดพิธีบายศรี
สู่ขวัญ ผูกข้อมือ เพื่อแทนคำขอบคุณที่กลุ่มอาจารย์ นักศึกษาได้ร่วมมาร่วมพัฒนายกระดับผ้าขาวม้าทอมือจากชุมชนให้ทันสมัย ก้าวสู่สากล และเพื่อเป็นศิริมงคลในโอกาสเดินทางมาเยี่ยมเยือน ร่วมทำกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมและพัฒนาสังคมในพื้นที่ชุมชนเขมราฐครั้งนี้ ซึ่งวัตถุประสงค์หลักของโครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทย และ “ผ้าขาวม้าวิถีไทย ทอใจอย่างยั่งยืน” คือการสร้างความตระหนักถึงคุณค่าของผ้าขาวม้าในเชิงศิลปวัฒนธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม และเสริมสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน อีกทั้ง ยังเป็นการอนุรักษ์ มรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage) ที่มีคุณค่าจากฝีมือของมนุษย์ อาทิ การนำเส้นใยและสีธรรมชาติมาใช้กับการย้อมผ้าขาวม้า และเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์โมเดลต้นแบบให้ชุมชน ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้าขาวม้าในอนาคตต่อไป เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2566 ณ บ้านโพธิ์เมือง เฮือนชูฮัก โฮมสตังค์ ตำบลนาแวง อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี
ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาสังคมศิลปวัฒนธรรมและสิทธิประโยชน์ พร้อมด้วยบุคลากร ตัวแทนนักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต และนักศึกษาทุนความสามารถพิเศษด้านศิลปวัฒนธรรม เข้าส่งมอบผลงานการออกแบบเครื่องแต่งกายจากผ้าขาวม้าทอมือของของชุมชนบ้านโพธิ์เมือง หลังจากที่ได้เข้าร่วมแสดงผลงานในโครงการ Creative Young Designers Season 3 โดย eisa บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และบริษัทประชารัฐรักสามัคคีวิสาหกิจเพื่อสังคม (ประเทศไทย) ในการจัดแสดงผลงานเดินแบบแฟชั่นโชว์โดยความร่วมมือจาก 18 มหาวิทยาลัย 20 ชุมชนจากเครือข่ายทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2566 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ที่ผ่านมา ซึ่งการออกแบบชุด เครื่องแต่งกาย ปรับลวดลายผ้าขาวม้าทอมือของชุมชนบ้านโพธิ์เมือง ตำบลนาแวง อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี
โดยนักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต ทั้งนี้กลุ่มชาวบ้านวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสตรีพัฒนาบ้านโพธิ์เมืองเฮือนชูฮัก โฮมสตังค์ จัดพิธีบายศรี
สู่ขวัญ ผูกข้อมือ เพื่อแทนคำขอบคุณที่กลุ่มอาจารย์ นักศึกษาได้ร่วมมาร่วมพัฒนายกระดับผ้าขาวม้าทอมือจากชุมชนให้ทันสมัย ก้าวสู่สากล และเพื่อเป็นศิริมงคลในโอกาสเดินทางมาเยี่ยมเยือน ร่วมทำกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมและพัฒนาสังคมในพื้นที่ชุมชนเขมราฐครั้งนี้ ซึ่งวัตถุประสงค์หลักของโครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทย และ “ผ้าขาวม้าวิถีไทย ทอใจอย่างยั่งยืน” คือการสร้างความตระหนักถึงคุณค่าของผ้าขาวม้าในเชิงศิลปวัฒนธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม และเสริมสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน อีกทั้ง ยังเป็นการอนุรักษ์ มรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage) ที่มีคุณค่าจากฝีมือของมนุษย์ อาทิ การนำเส้นใยและสีธรรมชาติมาใช้กับการย้อมผ้าขาวม้า และเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์โมเดลต้นแบบให้ชุมชน ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้าขาวม้าในอนาคตต่อไป เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2566 ณ บ้านโพธิ์เมือง เฮือนชูฮัก โฮมสตังค์ ตำบลนาแวง อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี