สถาบันศิลปวัฒนธรรมและพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต นำโดย ดร.เริงศักดิ์ แก้วเพ็ชร ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาสังคมศิลปวัฒนธรรมและสิทธิประโยชน์ พร้อมด้วยบุคลากร และนักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต เข้าพบ ท่านผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธรรมนิตย์ นิคมรัตน์ ศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช 2564 สาขาศิลปะการแสดง (โนรา) ผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมและศิลปะการแสดงโนรา จนได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ ที่สร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปะและวัฒนธรรม อันเป็นการสร้างชื่อเสียงให้ภูมิลำเนาเกิด หรือภูมิลำเนาที่ตนเองอาศัยอยู่ในปัจจุบัน ให้ได้จารึกในประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น ซึ่งท่านผศ.ธรรมนิตย์ นิคมรัตน์ ให้เกียรติทางมหาวิทยาลัยรังสิตได้เข้าพบ เพื่อศึกษาเรื่องราวของการแสดงมโนราห์อย่างใกล้ชิด ณ หอประชุมปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา
มโนราห์ ถือเป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านที่สืบทอดกันมานานและนิยมอย่างแพร่หลายในพื้นที่ภาคใต้ เป็นการแสดงที่มีแบบแผนการร่ายรำ การขับร้องที่งดงามเป็นเอกลักษณ์ มีดนตรีเป็นลูกคู่เล่นรับ-ส่งตลอดการแสดง ผู้รำโนราสวมเครื่องแต่งกายที่ทำด้วยลูกปัดหลากสี สวมปีกหางคล้ายนก เทริดทรงสูง ต่อเล็บยาวทำด้วยโลหะ การแสดงบางส่วนเล่นเป็นเรื่อง และบางส่วนแสดงตามคติความเชื่อที่เป็นพิธีกรรมท้องถิ่น และเป็นนาฏยลักษณ์ของคนใต้
พร้อมนี้ได้เข้าศึกษาเยี่ยมชม พิพิธภัณฑ์คติชนวิทยา สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านที่จัดแสดงข้อมูล เกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวใต้และขนบนิยมในท้องถิ่นซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะ ตลอดจนประวัติศาสตร์โบราณคดี และศิลปหัตถกรรมอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่แสดงให้เห็นภูมิปัญญาของกลุ่มชนซึ่งอาศัยอยู่ในภาคใต้ของประเทศไทย
สถาบันศิลปวัฒนธรรมและพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต นำโดย ดร.เริงศักดิ์ แก้วเพ็ชร ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาสังคมศิลปวัฒนธรรมและสิทธิประโยชน์ พร้อมด้วยบุคลากร และนักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต เข้าพบ ท่านผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธรรมนิตย์ นิคมรัตน์ ศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช 2564 สาขาศิลปะการแสดง (โนรา) ผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมและศิลปะการแสดงโนรา จนได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ ที่สร้างสรรค์ผลงานด้านศิลปะและวัฒนธรรม อันเป็นการสร้างชื่อเสียงให้ภูมิลำเนาเกิด หรือภูมิลำเนาที่ตนเองอาศัยอยู่ในปัจจุบัน ให้ได้จารึกในประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น ซึ่งท่านผศ.ธรรมนิตย์ นิคมรัตน์ ให้เกียรติทางมหาวิทยาลัยรังสิตได้เข้าพบ เพื่อศึกษาเรื่องราวของการแสดงมโนราห์อย่างใกล้ชิด ณ หอประชุมปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา มโนราห์ ถือเป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านที่สืบทอดกันมานานและนิยมอย่างแพร่หลายในพื้นที่ภาคใต้ เป็นการแสดงที่มีแบบแผนการร่ายรำ การขับร้องที่งดงามเป็นเอกลักษณ์ มีดนตรีเป็นลูกคู่เล่นรับ-ส่งตลอดการแสดง ผู้รำโนราสวมเครื่องแต่งกายที่ทำด้วยลูกปัดหลากสี สวมปีกหางคล้ายนก เทริดทรงสูง ต่อเล็บยาวทำด้วยโลหะ การแสดงบางส่วนเล่นเป็นเรื่อง และบางส่วนแสดงตามคติความเชื่อที่เป็นพิธีกรรมท้องถิ่น และเป็นนาฏยลักษณ์ของคนใต้ พร้อมนี้ได้เข้าศึกษาเยี่ยมชม พิพิธภัณฑ์คติชนวิทยา สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านที่จัดแสดงข้อมูล เกี่ยวกับวิถีชีวิตของชาวใต้และขนบนิยมในท้องถิ่นซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะ ตลอดจนประวัติศาสตร์โบราณคดี และศิลปหัตถกรรมอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่แสดงให้เห็นภูมิปัญญาของกลุ่มชนซึ่งอาศัยอยู่ในภาคใต้ของประเทศไทย